ผสานพลังพันธมิตรทั่วประเทศ…กลุ่มทรู นำโดย นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช, ดร.ธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ และนายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดงาน True Dealer Conference 2022 ณ ทรู ดิจิทัลพาร์ค และถ่ายทอดสดแบบ Virtual Conference ผ่าน…
true
กลุ่มทรู ร่วมสัมมนาเจาะลึกการปรับตัวฝ่าวิกฤตสร้างนวัตกรรมรับมือการเปลี่ยนแปลง
การมาของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างทำให้หลายอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัว สิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดพร้อมไปต่อได้ ก็คือการทรานส์ฟอร์มให้ทันการเปลี่ยนแปลงกลุ่มทรู โดย ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมถอดบทเรียนธุรกิจ การปรับตัว สร้างโอกาสรอดฝ่าวิกฤต พร้อมเปิดวิสัยทัศน์การนำนวัตกรรมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบนเวทีเสวนาหัวข้อ “Innovative Organization Perspective for Transforming Enterprise” ในงานแถลงข่าวจัดงาน “STARTUP x…
TRUE ต้อนรับ นายกรัฐมนตรี ชมนวัตกรรมโซลูชัน 5G ในงาน Thailand 5G Summit : The 5G Leader in the Region
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เยี่ยมชมนวัตกรรมโซลูชัน 5G ในบูธทรู นำเสนอศักยภาพระบบนิเวศทรู 5G นวัตกรรมและโซลูชัน รวมทั้ง Use Case ที่หลากหลายครอบคลุมทุกมิติของทุกอุตสาหกรรม เสริมแกร่งองค์กรธุรกิจไทย เพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ก้าวนำคู่แข่งไปอีกขั้น และเป็นพลังร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยมี นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์…
วิศวะ จุฬาฯ จากโครงการทรูแล็บ ส่ง “เคอร์เซอร์-1” ผงาดเวทีโลก “Spaceport America Cup 2022”
สานฝันนวัตกรไทยรุ่นใหม่ ผงาดทัดเทียมนานาชาติ….คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล (ที่ 4 จากซ้าย) คณบดีฯ และกลุ่มทรู โดยดร. ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ (ที่ 4 จากขวา) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ภาคภูมิใจผลงานจากโครงการทรูแล็บ จรวดความเร็วเสียง ชื่อ “เคอร์เซอร์-1” (CURSR-1)…
TRUE เปิดตัวแพลตฟอร์มอัจฉริยะบริหารจัดการหุ่นยนต์ ผ่าน Dashboard ต่อยอดโซลูชันหุ่นยนต์อัจฉริยะครบวงจร
ทรู ดิจิทัล โซลูชัน เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลโซลูชัน ตอบโจทย์ภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม ต่อยอด True Digital RoboCore โซลูชันหุ่นยนต์อัจฉริยะครบวงจร ยกระดับบริการเพื่อการใช้งานหุ่นยนต์ที่ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นสำหรับภาคธุรกิจ เปิดตัวแพลตฟอร์มสุดสมาร์ท ผู้ช่วยทางธุรกิจให้บริหารจัดการหุ่นยนต์ได้ด้วยตัวเองง่ายๆผ่าน Dashboard โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญเชิงเทคนิค สามารถสั่งการ ควบคุม และบริหารจัดการหุ่นยนต์หลายตัวในหลายพื้นที่ได้พร้อมกันแบบเรียลไทม์ ทั้งยังมีระบบเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และสรุปรายงานได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการ เพื่อนำไปพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ พร้อมกันนี้ True Digital…
คาดการณ์ค่าบริการมือถือหลังควบรวมเทียบแบบจำลองผลศึกษา กสทช ถ้าฮั้ว! ผู้บริโภคปาดเหงื่อ
จากโฟกัสกรุ๊ป ที่ทาง กสทช. จัดขึ้นเพื่อฟังผลกระทบในด้านต่าง ๆ เป็นรอบที่ 3 ซึ่งทาง TelecomLover ได้นำเสนอบทสรุปไปเมื่อคราวก่อน วันนี้เราจะนำอัตราค่าบริการที่ใช้อยู่จริงในปัจจุบัน มาเปรียบเทียบกับโมเดลสูตรคำนวณ ผลกระทบจากการศึกษาของ กสทช. ในโฟกัสกรุ๊ปรอบที่ 3 เพื่อดู ว่าราคาค่าบริการจะพุ่งไปเท่าไหร่ หากเกิดดีลควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคเกิดขึ้นจริง ๆ จากการที่ ดร. ประถมพงศ์ ศรีนวล เศรษฐกรเชี่ยวชาญ…
ผลวิจัยชี้ชัด ควบ TRUE-DTAC กระทบศก.หลายภาคส่วนเป็นวงกว้าง ทำ GDP ดิ่งเหว ฉุดเติบโตเศรษฐกิจไทย
สรุปสาระสำคัญจากวงรับฟังความเห็นสาธารณะในวงจำกัด (Focus Group) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2565 ในรอบวิชาการนั้น มีตัวเลขที่น่าสนใจ หลังจากที่กรรมการกสทช.โดย ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ด้านเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า Framwork การทำงานของกรณีควบรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมระหว่าง บริษัท ทรูคอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้มีการวางแผนการทำงานล่วงหน้ามานาน 1 เดือน และขอยืนยันว่าเจ้าหน้าที่กสทช.ทุกคนพยายามทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ได้ขอสรุปออกมามีความหลากหลายและรอบคอบมากที่สุด โดยได้แบ่งการประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากมีการควบรวมระหว่างทรูและดีแทคไว้ 2 ประเด็น ได้แก่ 1.การวิเคราะห์โครงสร้างการแข่งขันและผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ และ 2.ความมีประสิทธิภาพของธุรกิจ ทั้งนี้ การดูผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ในกรณีที่มีการควบรวม ต้องพิจารณาดูความเป็นไปได้ที่จะเกิด ผ่านการศึกษาบทเรียนของต่างประเทศที่มีอยู่ รวมถึงการดูผลกระทบกรณีมีการร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการหลังรวมธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น ราคา (อัตราค่าบริการ) การเข้าสู่ตลาด MVNO การทดแทนบริการ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล ในกรณีที่อัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นหลังรวมธุรกิจมีผลต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มค้าส่งบริการ และกลุ่มค้าปลีกบริการ ชูโมเดลแนวทางการศึกษาผลกระทบ นายประถมพงศ์ ศรีนวล เศรษฐกรเชี่ยวชาญ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนัก สำนักการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 2 กล่าวว่า ในการพิจารณากรณีรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคนั้นได้นำแบบจำลองที่เกี่ยวกับผลกระทบด้านราคา 2 แบบ คือ Merger Simulation (MS) และ Upward Pricing Pressure Model (UPP) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้แพร่หลายในสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา มาเป็นสูตรในการคำนวณ ทั้งนี้ ระบุได้ว่า หากการควบรวมเกิดขึ้นแล้วนั้น ผลศึกษาพบว่า อัตราค่าบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3 ระดับ 1.กรณีไม่มีการร่วมมือกัน 2.03-19.53 % 2. กรณีร่วมมือกันในระดับต่ำ ราคาเพิ่มขึ้น 12.57-39.81% และ 3.กรณีร่วมกันในระดับสูงราคาเพิ่มขึ้น 49.30-244.50% …